หลักการแปล
แต่เดิมการแปลนั้นไม่มีทฤษฏีอะไรกำหนดไว้ ดังนั้น นักแปลต่างก็แปลงานตามวิธีการของตนเอง ศาสตราจารย์ ดร. ปัญญา บริสุทธิ์ กล่าวไว้ในทฤษฏีและวิธีปฏิบัติในการแปลว่า ความรู้ทางทฤษฏีการแปลได้เริ่มก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยพัฒนาขึ้นพร้อมกันในสหรัฐอเมริการและในยุโรป โดยในยุโรปนั้น การพิจารณาคดีอาชญากรสงครามที่เมือง นูเรมเบิร์ด ในประเทศเยอรมันี ได้ทำให้เกิด “การแปลแบบล่ามทันควัน” (Simultaneous Interpretation) ซึ่งจากจุดเริ่มต้นตรงนี้เอง ได้แพร่หลายไปในการประชุมนานาชาติครั้งอื่นๆ นักแปลล่ามอาชีพเหล่านี้ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และร่วมกันวางหลักทฤษฏีที่จะยึดเป็นมาตรฐานของวิชาชีพการแปลล่ามขึ้น ซึ่ง ต่อมาทฤษฏีนี้ได้ขยายมาสู่วงการแปลโดยทั่วไป
ความรู้เกี่ยวกับทฤษฏีแปล ทำให้ผู้แปลมีหลักการยึดถือที่ใช้ได้ผลเพื่อนำไปปฏิบัติจริง ในหลายสถาบันถือว่าทฤษฏีการแปลเป็นหลักวิชาเบื้องต้นของการสอนแปลเพื่ออาชีพ ดังนั้นนอกจากการแปลจะถึงว่าเป็นศิลปะแล้ว ยังมีความเป็นศาสตร์อยู่ในตัวเองด้วย
ศาสตร์สาขาต่างๆที่นักแปลควรจะมี
1.ทฤษฏีภาษาศาสตร์
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ กลุ่มคำ ประดยค หรือความหมายของคำ ความหมายตรง ความหมายแฝง ศาสตร์นี้จะช่วยให้นักแปลเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนได้ดี มีรสชาติและชีวิตชีวา
2.ทฤษฏีจิตวิทยา
วิชาจิตวิทยา จะช่วยให้นักแปลได้มีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมการแสดงออกของมนุษย์ทั้งหญิงและชาย เด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ ทั้งนี้ก็เพื่อ ให้นักแปลมีความเข้าใจตัวละครในวรรณกรรม ในข่าว หรือในเอกสารต่างๆ ที่นำมาแปล
3.ทฤษฏีการตลาด
งานแปลบางประเภทเป็นสินค้าที่เป็นไปตามกระบวนการตลาด โดยเริ่มจากความต้องการและการตอบสนองความต้องการ เช่น การแปลหนังสือส่งให้โรงพิมพ์ หากนักแปลไม่รู้และเข้าใจถึงการตลาดเลย หนังสือที่เลือกมา ก็อาจไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งส่งผลเสียต่อตัวนักแปลเองก็ได้
4.ทฤษฏีสื่อสารมวลชล
ผู้แปลจะต้องรู้จักสื่อประเภทต่างๆ ให้หลากหลาย เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงวิธีการสื่อสาร รับสาร ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการปฏิบัติงานแปล
แผนผังง่ายๆ ของหลักการแปลก็คือ
สมมติว่า ภาษาต้นฉบับที่ให้มา คือคำว่า “Good-bye”
กระบวนการแปลก็จะเริ่มจาก
1. เริ่มค้นหาความหมายของคำว่า Good-bye
2. เมื่อได้ความหมาย ว่า “เป็นคำอำลา ที่ใช้เมื่อจากกัน”
3. หาคำไทย ถ่ายทอดออกไปให้ได้ความหมายใกล้เคียงกัน ซึ่งก็คือ “ลาก่อน”