การแปล และประวัติศาสตร์การแปล
การแปลคืออะไร
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความของ “แปล” ไว้ 2 ความหมายคือ
1. แปล คือ การถ่ายความหมายจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง
2. แปล คือ ทำให้เข้าใจความหมาย (ทั้งสองคำ เป็นคำกริยาทั้งคู่ครับ)
พจนานุกรมของลองแมน ให้ความหมายเกี่ยวกับการแปลไว้ว่า
translate : to change speech or writing into another language
ซึ่งก็คือ “แปล” : เปลี่ยนคำพูดหรือข้อเขียนไปเป็นภาษาอื่น
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การแปลเริ่มมาจากไหน?
การแปลเริ่มตั้นตั้งแต่เมื่อใด ยังไม่มีผู้ใดทราบแน่นอน ปีเตอร์ นิวมาร์ค กล่าวว่า “การแปลมีมาตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ” และวรรณกรรมแปลเก่าแก่ที่สุดที่พบในปัจจุบันคือ “เอกสารที่ขุดพบในบริเวณเมืองเอบลา (Ebla) ” ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศซีเรีย ในปัจจุบัน โดยคาดว่า เนื่องจากในสมัยโบราณนั้น ดินแดนแถบนั้นเป็นศูนย์กลางการค้าขาย จึงเป็นที่ๆ คนหลายชาติ หลายภาษา มาชุมนุมกัน เพื่อทำธุรกิจ มีการเจรจาธุรกิจและการค้า จึงจำเป็นต้องมีการแปล แลกเปลี่ยนเอกสาร เพื่อทำสัญญาทางการค้ากัน
การแปลเริ่มเข้ามามีบทบาทในยุโรปประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช นักแปลชาวยุโรปในตอนเริ่มแรกเชื่อกันว่าเป็นชาวกรีก ซึ่งแปล “มหากาพย์โอดิสซี ของ โฮเมอร์ ” จากภาษากรีกเป็นภาษาละติน ตรงนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการแปลในสมัยกรีกโบราณ
ประวัติการแปลในประเทศไทย
เท่าที่มีหลักฐานนั้น การแปลในประเทศไทยเริ่มมีมาตั้งแต่สมัย สุโขทัย และจุดประสงค์หลักของการแปลในสมัยนั้น ก็เพื่อเรื่องศาสนา โดยหลักฐานต่างๆก็ได้แก่ การแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย ตัวอย่างงานแปลในสมัยสุโขทัยที่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนนั่นก็คือ “ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง” ซึ่งเขียนเป็นภาษาขอมโบราณ ภาษาไทยและภาษาบาลีถือเป็นการแปลโดยตรง เพราะเป็นเอกสารที่พูดถึงเรื่องเดียวกัน เนื้อความเดียวกัน โดยเนื้อหาของศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ก็คือ เอกสารกึ่งศาสนาที่บอกว่า มีการสร้างวัดป่ามะม่วงขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อะไร
การสอนแปลภาษา
เริ่มขึ้นเมื่อสมัย รัชกาลที่ 4 โดยเริ่มมีการสอนการแปลเป็นทางราชการเพื่อ ผลประโยชน์ทางด้านการเมือง มีการส่งคนไปศึกษาต่อในต่างประเทศ มีการออกหนังสือพิมพ์โดยหมอ บรัดเลย์ เป็นบรรณาธิการ มีการจัดพิมพ์ปทานุกรมแปลความหมายของคำภาษาไทย ออกไปเป็นภาษาละติน ฝรั่งเศส และอังกฤษ